แหล่งรวม ธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน และ ข้อมูล การท่องเที่ยว ในแถบ อันดามัน
 
เข้าสู่ระบบ G! Builder
เลือกจังหวัด
ข่าวสาร ข่าวทั่วไป ในแถบ อันดามัน ( ภูเก็ต, กระบี่, ระนอง, ตรัง, พังงา, สตูล )

ภูเก็ต, ?ดร.พิจิตต? เสนอสภาร่างฯบรรจุความมั่นคงสิ่งแวดล้อมใน รธน. ( ข่าวภูเก็ต )

“ดร.พิจิตต รัตตกุล” เตรียมเสนอสภาร่างฯบรรจุเรื่องความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อมไว้ในรัฐธรรมนูญ เหตุต่ออนาคตจะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนกลายเป็นสงครามการแย่งชิง

วันนี้ (30 เม.ย.) ที่โรงแรมรอยัลภูเก็ต ซิตี้ จ.ภูเก็ต ดร.พิจิตต รัตตกุล รักษาการผู้อำนวยการศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) กล่าวในโอกาสที่เดินทางมาเป็นประธานส่งมอบแผนกลยุทธ์การบริหาร จัดการความเสี่ยง จ.ภูเก็ต ว่า ในวันที่ 2 พฤษภาคมนี้ตนจะเดินทางเข้าพบประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อนำเสนอแนวคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในกรอบที่ 1 เรื่องสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชน และการกระจายอำนาจ ซึ่งได้มีการจัดทำเป็นร่างไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อพิจารณาว่าจะมีการเสนอเพิ่มเติมเข้าไปในรัฐธรรมนูญได้หรือไม่

โดยการยื่นขอเสนอในครั้งนี้จะเสนอในนามส่วนตัวในฐานะนักสิ่งแวดล้อมและยังมีนักสิ่งแวดล้อมร่วมอีก 2-3 คน เช่น อดีตผู้อำนวยการกรีนพีซ เป็นต้น ซึ่งเป็นเครือข่ายกัน

ในอดีตที่ผ่านมาเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ได้มีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ดังนั้น จึงขอนำเสนอว่าให้มีการกำหนดเรื่องความมั่นคงทางนิเวศวิทยาและทรัพยากรธรรมชาติ โดยให้ถือเป็นความมั่นคงของชาติแขนงหนึ่ง โดยไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของนโยบาย แต่เป็นเรื่องของการสร้างยุทธศาสตร์ความมั่นคง และให้ถือว่าภารกิจในการพิจารณาเรื่องความมั่นคงทางนิเวศวิทยาและทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นเนื้อหาในการพิจารณาในสภาความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งเดิมพูดกันเพียงการป้องกันประเทศ นโยบายต่างประเทศ

แต่ในรัฐธรรมนูญที่นำเสนอนั้นจะมีเรื่องของความมั่นคงทางนิเวศวิทยา และทรัพยากรธรรมชาติด้วย สิ่งที่เน้นมี 3 เรื่อง คือ สิทธิของชุมชนในการตัดสินใจในการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติ และการฟื้นฟู โดยไม่ให้เป็นสิทธิของชุมชนในการใช้ทรัพยากรธรรมเพียง อย่างเดียว แต่ต้องประกอบกันทั้งการใช้และฟื้นฟู

ประเด็นถัดมา เป็นเรื่องที่ไม่มีใครพูดถึงมาก่อนและเป็นครั้งแรกที่ขอให้รัฐธรรมนูญมีการพูดถึงสิทธิของสิ่งแวดล้อมทั้งอากาศ ดิน น้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพ

ประเด็นสุดท้าย เน้นในเรื่องการของที่รัฐและประชาชนจะต้องจัดการเรื่องการวางแผนการใช้ การฟื้นฟูให้เป็นส่วนประกอบหนึ่งของการดำรงชีวิต ในยุทธศาสตร์การสร้างความมั่นคงทางนิเวศวิทยาและทรัพยากรธรรมชาตินั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ดิน ซึ่งจะพูดตั้งแต่เรื่องเอกสารสิทธิในที่ทำกิน ป่าชุมชน เขตอนุรักษ์ คุณภาพดิน เนื่องจากปรากฏการณ์ของเรือนกระจกที่เข้ามานั้นจะทำให้สภาพของดิน แหล่งเพาะปลูก แหล่งอาหารเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง

ในแง่ความมั่นคงของชาติเราจะมีการเตรียมรับมืออย่างไร เช่นเดียวกับเรื่องน้ำ ซึ่งจากภาวะโลกร้อนทำให้เกิดอุทกภัย การขาดแคลนน้ำ คลองส่งน้ำ แห้งแล้ง แหล่งอาหาร สูญหายไป และอากาศ ในเรื่องของพายุ อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง ความเป็นพิษของอากาศ

เหตุที่จะต้องมีการนำเรื่องนี้บรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ ก็เนื่องมาจากภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้น ซึ่งเราจะต้องเตรียมพร้อมในการปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ดังกล่าว

เช่น เรื่องของน้ำที่จะมีสงครามในการแย่งชิงน้ำ อาหาร ที่ทำกิน เป็นต้น แม้จะเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ แต่คงไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ล้วนๆ แต่เป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความมั่นคงของรัฐด้วย เพราะเป็นปัญหาเฉพาะ หน้าที่เกิดจากโลกร้อนและเกิดขึ้นแน่ๆ เพราะที่ผ่านมาพูดถึงเฉพาะเรื่องของรูปแบบ เช่น การดูแลรักษาให้มีความยั่งยืน เป็นต้น ดังนั้น ในรัฐธรรมนูญต้องกำหนด ภารกิจให้ชัดเจนว่าเป็นอย่างไร

ข้อมูลจาก : ผู้จัดการออนไลน์

Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!
ทะเบียนพาณิชย์อีเลคทรอนิคส์ เลขที่ 8373549000215