แหล่งรวม ธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน และ ข้อมูล การท่องเที่ยว ในแถบ อันดามัน
 
เข้าสู่ระบบ G! Builder
เลือกจังหวัด
ข่าวสาร ข่าวทั่วไป ในแถบ อันดามัน ( ภูเก็ต, กระบี่, ระนอง, ตรัง, พังงา, สตูล )

ภูเก็ต, อบจ.ภูเก็ตสืบสาน ?Baba-Peranakan? บรรจุเป็นหลักสูตร ?ท้องถิ่นบ้านเรา? ( ข่าวภูเก็ต )

ข่าวภูเก็ต : อบจ.ภูเก็ตสืบสาน ?Baba-Peranakan? บรรจุเป็นหลักสูตร ?ท้องถิ่นบ้านเรา?
นางอัญชลี วานิช เทพบุตร นายก อบจ.ภูเก็ต

อบจ.ภูเก็ต ร่วมสืบสานวิถีความเป็น ?Baba-Peranakan? จัดอบรมเพิ่มความรู้ครูสังคมศาตร์ เพื่อพัฒนาเป็นหลักสูตร ?ท้องถิ่นของเรา?
นางอัญชลี วานิช เทพบุตร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ภูเก็ต เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 9-11 มิถุนายน 2549 นี้ อบจ.ภูเก็ตจะจัดสัมมนาเรื่อง ? BaBa-Perakan? เน้นกลุ่มเป้าหมายครูสายสังคมศาสตร์ โรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาจังหวัดภูเก็ต โดยการสัมมนาครั้งนี้จะมีการนำชมเมืองภูเก็ต เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความเข้าใจถึงวิถีชีวิตความเป็นมาของ Baba-Pera nakan โดยใช้ชื่อว่า ?อบจ.ภูเก็ตนำชมเมือง Baba-Peranakan? และในการชมเมืองครั้งนี้ อบจ.ภูเก็ต ได้รับความอนุเคราะห์จากตระกูล "หงษ์หยก" เปิด ?อั้งหม้อ เหลาหงษ์หยก? และ ?บ้านเตี้ยมหล่าย? เลขที่ 20 และ 22 ให้ชมพร้อมทั้งจัดวิทยา กรให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาอีกด้วย
จากการที่จังหวัดภูเก็ต ได้ถูกเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดประชุม Peranakan ครั้งที่ 19 ซึ่งจะจัดขึ้นประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ และปี 2549 ยังเป็นปีที่ชาวไทยจะได้ร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติ 60 ปี
โดยการสัมมนาฯครั้งนี้ มีกลุ่มเป้าหมาย คือ ครูสายสังคมศาสตร์เพื่อเตรียมบรรจุในหลักสูตร ท้องถิ่นของเรา เพื่อค้นหาความเป็นมาของ Baba-Peranakan ในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งพร้อมๆ กับยุครุ่งเรืองเหมืองแร่เมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมา เป็นการจุดประกายเพื่อก่อให้เกิดกระแสการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม และเปิดพื้นที่การท่องเที่ยวใหม่ในตัวเมือง ดำรงไว้ซึ่งความภูมิใจในรากหญ้าวิถีชีวิตในอดีตของชาวภูเก็ตที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติทั้งไทย จีน พุทธ อิสลาม ที่สามารถประกอบสัมมนาชีพอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขภายใต้พระบารมีขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สำหรับคำว่า Peranakan เป็นภาษามาเลย์ แปลว่า Local born หรือเกิดในท้องถิ่น ซึ่งหมายถึงผู้ชายชาวจีนที่อพยพเข้ามาในคาบสมุทรมลายูแล้วมาแต่งงานกับผู้หญิงในท้องถิ่นและนำวัฒนธรรมจีนมาผสมผสานกับท้องถิ่นอย่างกลมกลืน เมื่อมีลูกเป็นผู้ชายจะเรียกว่า Baba และเป็นผู้หญิงจะเรียกว่า Nyonya หรือยอย้าหรือย่าหยา ตาม ความนิยมของภาษาท้องถิ่นนั้นๆ อย่างไรก็ตามคำว่า Peranakan ชาวภูเก็ตอาจจะไม่คุ้นเคยแต่คุ้นเคยกับคำว่าบาบ๋ามากกว่า

ข้อมูลจาก : ผู้จัดการออนไลน์

Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!
ทะเบียนพาณิชย์อีเลคทรอนิคส์ เลขที่ 8373549000215